ระบบ WAN

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

ระบบเครือข่ายแบบ WAN

(WAN :Wide Area Network) / Enterprise WAN Networkระบบแวนหรือระบบเครือข่ายระยะไกล คือ ระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่มีระยะทางห่างกันไกล ซึ่งอาจครอบคลุมเนื้อที่กว้างขวางหรืออาจข้ามประเทศ ข้ามทวีปโดยระบบสื่อสารนี้จะเชื่อมโยงกันโดยอาจใช้สายโทรศัพท์ สายไฟเบอร์ออฟติก คลื่นไมโครเวฟและดาวเทียม เข้าช่วยเพื่อส่งข้อมูลที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
Enterprise Network ประกอบด้วยเครือข่ายใหญ่เล็กมารวมกัน และเชื่อมต่อกันด้วย
Core Router และก็เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับแวน ไม่เพียงเท่านั้นการเชื่อมต่อบน Enterprise Network ก็ยังมีเป็นการใช้เทคโนโลยีหลากหลายเข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ใช้ก็ยังมีความหลากหลายเช่นเดียวกับ รูปแบบต่างๆของเครือข่าย Enterprise มีหลายแบบดังนี้
- การเชื่อมต่อเข้ามาที่เครือข่ายองค์กรโดยทาง Remote Access หรือการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายสาขากับเครือข่ายบริษัทแม่ โดยวิธีการ Remote Access โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะหรืออินเทอร์เน็ตอย่างใดอย่างหนึ่ง
- การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือเป็นไปในรูปแบบอินทราเน็ต (Intranet) หรือ เอ็กซทราเน็ต
- การเชื่อมต่อผ่าน WAN โดยใช้เทคโนโลยีรูปแบบต่างๆ เช่น ATM, ISDN, Fram Relay
- การเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตที่ปลอดภัยด้วย VPN (Virtual Private Network)

ประเภทของเครือข่าย WAN

           เครือข่าย WAN สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ
               1 . เครือข่ายส่วนตัว (private network) เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์กร เช่น องค์กรที่มีสาขาอาจทำการสร้างระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาที่มีอยู่ เป็นต้น
           การจัดตั้งระบบเครือข่ายส่วนตัวมีจุดเด่นในเรื่องของการรักษาความลับของข้อมูล สามารถควบคุมดูแลเครือข่ายและขยายเครือข่ายไปยังจุดที่ต้องการ ส่วนข้อเสียคือในกรณีที่ไม่ได้มีการส่งข้อมูลต่อเนื่องตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ และหากมีการส่งข้อมูลระหว่างสาขาต่างๆ จะต้องมีการจัดหาช่องทางสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างแต่ละสาขาด้วย ซึ่งอาจจะไม่สามารถจัดช่องทางการสื่อสารไปยังพื้นที่ที่ต้องการได้
                2. เครือข่ายสาธารณะ (PDN: public data network) หรือบางครั้งเรียกว่าเครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (VAN: Value Added Network) เป็นเครือข่าย WAN ที่จะมีองค์กรหนึ่ง (third party) เป็นผู้ทำหน้าที่ในการเดินระบบเครือข่าย และให้เช่าช่องทางการสื่อสารให้กับ บริษัทต่างๆ ที่ต้องการสร้างระบบเครือข่าย ซึ่งบริษัทจะลดค่าใช้จ่ายของตนลงได้ เนื่องจากมีบุคคลอื่นมาช่วยแบ่งปันค่าใช้จ่ายไป ซึ่งจะนิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการจัดตั้งเครือข่ายส่วนตัว สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการจัดตั้งเครือข่ายใหม่ รวมทั้งมีบริการให้เลือกอย่าง หลากหลาย ซึ่งแตกต่างกันไปทั้งในส่วนของราคา ความเร็ว ขอบเขตพื้นที่บริการ และความเหมาะสมกับงานแบบต่าง ๆ
ในสหรัฐอเมริกามีการใช้ระบบในรูปแบบนี้ภายใต้การบริการของ GE (General Electric) ตั้งระบบชื่อ GEIS (GE Information Services Company) สำหรับประเทศไทย เริ่มมีแนวความคิดในการใช้ระบบนี้ในเครือข่าย GINET (Government Information Network) โดยทางเนคเทคจะตั้งเครือข่ายเพื่อการบริการ และให้หน่วยงานต่าง ๆ มาเชื่อมสัญญาณเข้าที่ระบบนี้
        

การเชื่อมต่อแบบระหว่างจุดบน WAN

การเชื่อมต่อแบบนี้เป็นการเชื่อมต่อที่ประกอบด้วยอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย ทั้งสองจุดเชื่อมต่อต่างก็มีปลายด่านหนึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายทั้งสองนี้มีการเชื่อมต่อกันผ่าน WAN ซึ่งโดยมากเป็นการเชื่อมต่อผ่านทางโมเด็ม

การเชื่อมต่อแบบ Star หรือ Hub Spoke

ลักษณะการเชื่อมต่อแบบนี้มีรูปร่างเหมือนแบบ Star โดยมีเครือข่ายต่างๆ หลายเครือข่ายเชื่อมต่อเข้ามาที่เครือข่ายหลักหนึ่งเครือข่าย โดยที่เครือข่ายย่อยต่างๆ หากต้องการสื่อสารกับเครือข่ายอื่นจะต้องวิ่งผ่านเข้ามาทางเครือข่ายหลักเพียงแห่งเดียว อย่างไรก็ดีหากอุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นเราเตอร์การเชื่อมต่อแบบนี้จะเป็นแบบที่เรียกว่า Hub and Spoke

การเชื่อมต่อ Partial Mesh และ Fully Mesh

เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อที่มีเส้นทางหลายเส้นทางโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้มีเส้นทางทดแทนกันในกรณีที่เส้นทางเกิดปัญหา รวมทั้งการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทางบางตัวที่เอื้ออำนวยให้สามารถส่งข้อมูลข่าวสารผ่านเส้นทางพร้อมกันหลายเส้นทางในลักษณะของการแบ่งกระแสข้อมูลข่าวสารออกไปบนเส้นทางหลายเส้นทาง เพื่อมุ่งสู่ปลายทาง (Load Sharing)
ระบบแมน (MAN) สามารถรวมระบบแลน (LAN) หลาย ๆ ระบบเข้าด้วยกันและระบบแวน (WAN) ก็เป็นการรวมระบบแมนและระบบแลนหลาย ๆ ระบบเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจใช้เทคโนโลยีต่างกันก็ได้ นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายระยะไกล ได้แก่ ระบบเครือข่าย ISDN (Integrated Services Digital Network) เป็นระบบเครือข่ายดิจิตอล ซึ่งสามารถส่งข้อมูลที่เป็นภาพและเสียงผ่านตัวเชื่อมเข้ากับระบบ ISDN โดยไม่ต้องใช้โมเด็มแปลงสัญญาณอนาล็อกและดิจิตอล